Welcome To The Blog Nilawan

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

        ความรู้ที่ได้รับ

                      ** วันนี้เป็นคาบสุดท้ายของเทอมนี้ และวันนี้อาจารย์ได้นัดให้มาสอบร้องเพลง โดยจับฉลากได้เพลงไหน ก็ให้ร้องเพลงนั้น 

กติกาในการสอบ
  • ดูเนื้อเพลงหัก 1 คะแนน
  • ให้เพื่อนทั้งห้องช่วยร้องหัก 1 คะแนน
  • เปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะแนน
  • ร้องได้โดยไม่ใช้ตัวช่วย ได้ 5 คะแนนเต็ม
        >>  โดยมีเพลงทั้งหมด 21 เพลง ดังนี้ <<





                                       .....ดิฉันจับได้เพลง  "นม"  การสอบครั้งนี้ ดิฉันได้ 5 คะแนนค่ะ.....

       ความรู้สึกที่มีต่อ วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
          
            ดิฉันดีใจที่ได้เรียนวิชานี้ กับอาจารย์เบียร์ค่ะ เพราะอาจารย์เป็นคนที่สอนแล้วเข้าใจง่าย ถึงแผนต่างๆ ที่อาจารย์สอนจะยากไปบ้าง แล้วอาจารย์มีวิธีการสอนที่ทำให้เพื่อนๆ ไม่งง อาจารย์เป็นคนที่แต่งตัวเรียบร้อยตลอดทั้งเทอม และพูดจาไพเราะตลอดเวลา ชอบอาจารย์ในคาบแบบนี้มากๆ ค่ะ ขอบคุณอาจารย์เบียร์มากๆ ที่สอนวิชานี้ให้กับดิฉันและเพื่อนๆ ค่ะ ...... รักอาจารย์เบียร์<3





ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

       ความรู้ที่ได้รับ

         โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
        แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟุให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการตจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

       การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ  จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแปน IEP
       IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
       ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นพูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
       ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมือความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
       ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้ไมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล  เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สุงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1.  การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2.   การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
       -  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
    -  จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน  แม้จะกว้าง 
           >  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
           >  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่น
           >  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆ ได้
    
   -  จุดมุ่งหมายระยะสั้น 
           >  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
           >  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2 - 3 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์
           >  จะสอนใคร
           >  พฤติกรรมอะไร
           >  เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
           >  พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ตัวอย่าง

  • ใคร                              อรุณ
  • อะไร                            กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน          กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง  ในเวลา 30 นาที
ตัวอย่าง

  • ใคร                              ธนภรณ์
  • อะไร                            นั่งเงียบๆ โดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน          ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที  เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
     3.  การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์  ครุจะนำไปใช้โดยจะใช่แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึกถึง
             1.  ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
             2.  ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญญาของพัฒนาการเด็ก
             3.  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
     4.  การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน  และเกณฑ์วัดผล
      ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน



      
ตัวอย่างแผน IEP



การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำวิธีการเขียนแผน IEP ที่อาจารย์สอนไปฝึกเขียนและใช้ได้ในอนาคต
  • สามารถนำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลไปทำความเข้าใจและหาข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคต
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเขียนแผน IEP ช่วยเพื่อนคิดแผน 
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันเขียนแผนตั้งใจทำงานกันและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
  • อาจารย์  :  อาจารย์สอนการเขียนแผน IEP และให้ลองเขียนแผน ทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในแผนเป็นอย่างดีค่ะ



ครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 14 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)



* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดเทศกาลสงกรานต์ค่ะ...^_^


ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 6 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

        ความรู้ที่ได้รับ
               
             การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
                  ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
                   เป้าหมาย
                    -  การช่วยให้เด็กแต่บะคนเรียนรู้ได้
                    -  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
                    -  เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
                    -  พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
                    -  อยากสำรวจ  อยากทดลอง  
                  
                    ช่วงความสนใจ
                    -  ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
                    -  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวาหนึ่งได้นานพอสมควร         

                    การเลียนแบบ
                    -  เลียนแบบครู
                    -  รุ่นพี่      

                    การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ
                    -  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
                    -  เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
                    -  คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
                       (อย่าสั่งอะไรหลายอย่าง)

                                                                 การรับรู้  การเคลื่อนไหว
                      
                                                            ได้ยิน  เห็น  สัมผัส  ลิ้มรส  กลิ่น
                                                     
                                                                               
                                                                ตอบสนองอย่างเหมาะสม

               

                                                             การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก                               
                 

                                                          -  การกรองน้ำ  ตวงน้ำ          
                                                          -  ต่อบล็อก
                                                          -  ศิลปะ
                                                          -  มุมบ้าน
                                                          -  ช่วยเหลือตนเอง

               ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
               -  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
               -  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
   



                ความจำ
                -  จากการสนทนา
                -  เมื่อเช้าหนูทานอะไร
                -  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
                -  จำตัวละครในนิทาน
                -  จำชื่อครู  เพื่อน
                -  เล่นเกมทายของที่หายไป

                ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
                -  จำแนก
                -  เปรียบเทียบ
                -  มิติสัมพันธ์
                -  การวัด
                -  การตวง

                การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
                -  จัดกลุ่มเด็ก
                -  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
                -  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
                -  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
                -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
                -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
                -  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
                -  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
                -  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
                -  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
                -  พูดในทางที่ดี
                -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
                -  ทำบทเรียนให้สนุก

เพลงเด็กปฐมวัย
                                                                                           ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                                                                          เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน
          
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิง 1 2 3 4 5
อีกฝูกบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ียวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ง 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยง  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ*)


การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำวิธีการส่งเสริมทักษะต่างๆ ไปใช้ในการฝึกสอนได้ในอนาคต
  • สามารถนำเนื้อเพลงที่อาจารย์สอน ไปใช้ร้องเพลงเก็บเด็ก หรือร้องในเวลาทำกิจกรรม
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจที่อาจารย์สอน จดความรู้ที่อาจารย์เพิ่มเติมให้
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจที่อาจารย์สอน ตั้งใจเรียนทุกคน
  • อาจารย์  :  อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย  พูดจาไพเราะมากๆ ค่ะ สอนเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 





                                    

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 31 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

               
             **วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะวันพรุ่งนี้ จะมีกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ ดังนั้น     อาจารย์เลยให้ช่วยกันทำอุปกรณ์การเชียร์กีฬาสี ต่างๆ ค่ะ







นี่คือสแตน เอกการศึกษาปฐมวัย ^^



 ประเมิน
  • ตนเอง : ช่วยเพื่อนๆ ทำอุปกรณ์การเชียร์กีฬา และช่วยเพื่อนๆ ทำสแตนของปฐมวัย
  • เพื่อน  :  เพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสแตนขึ้นมาทำให้สแตนออกมาน่ารักเหมาะกับเอกปฐมวัยเป็นอย่างมากค่ะ
  • อาจารย์  :  อาจารย์ค่อยช่วยและให้คำปรึกษา ในเวลาที่พวกเรากำลังช่วยกันทำสแตนอยู่และอาจารย์ยังเลี้บง Pizza อีก อาจารย์น่ารักมากๆ เลยค่ะ

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 24 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)


**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่มีการสอบเก็บคะแนนค่ะ >_<



ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

 ความรู้ที่ได้รับ
            
        การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ  (ทักษะการช่วยเหลือตนเอง)
                            
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    การสร้างความอิสระ
  • เก็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
    ความสำคัญเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
   การย่อยงาน  (การเข้าส้วม)
  • เข้าไปในห้องน้ำ
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาศำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม      
    สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่วามสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
              จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานคนละ 1 ชิ้น โดยการให้ระบายสีโดยสมมติว่า กระดาษวงกลมเป็นหัวใจตนเอง แล้วใช้สีเทียนระบายลงไป ผลงานชิ้นนี้จะสื่อถึงความรู้สึกของตนเองได้ด้วยค่ะ


          ภาพนี้จะเป็นกระดาษร้อยปอร์นแข็งขนาดเท่ากระดาษ A4 แล้วเริ่มใช้สีเทียนสีอะไรก็ได้ จุดลงตรงกลางตามภาพ


          ลงสีเสร็จแล้ว ให้ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่ลงสีไว้ และนี่คือหัวใจของดิฉัน ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับดวงใจนี้ว่า "จริงๆ แล้วในใจลึกๆ เป็นคนที่สดใส ร่าเริงและเป็นคนที่เรียบง่าย แต่ภายนอกดูอาจจะขุ่นมัว มีเรื่องที่ไม่ค่อยสบายใจสักเท่าไหร่"  ดิฉันคิดว่าวงกลมนี้ตรงกับตัวของดิฉันมากๆ เลยค่ะ อารมณ์ของดิฉัน ตามสีที่ดิฉันเลือกมาวงค่ะ


          เมื่อทุกคนทำหัวใจของตนเองเสร็จหมดแล้ว อาจารย์เบียร์ได้นำต้นไม้ขนาดใหญ่มาติดไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง แล้วให้ทุกคนนำหัวใจของตนเองมาติดไว้ตามต้นไม้ต้นนี้ค่ะ


          และภาพที่เห็นนี้คือ หัวใจของพวกเราทุกคนที่นำมารวมกัน เกิดสีสันมาปรากฏบนต้นไม้ต้นนี้ได้สวยงามมากๆ ค่ะ^^

การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถผลงานที่ทำไปปรับใช้ ได้ในการฝึกสอนในอนาคต
  • สามารถนำเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปใช้ในการฝึกสอน
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง จดบันทึกที่อาจารย์เพิ่มเติมให้
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม มีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ และช่วยเหลือกันและกัน
  • อาจารย์  :  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมได้ดีมากๆ ค่ะ เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงๆ ทำให้มีพื้นฐานและมีเกมไปสอนเด็กๆ ได้ในอนาคตค่ะ