Welcome To The Blog Nilawan

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

        ความรู้ที่ได้รับ

                      ** วันนี้เป็นคาบสุดท้ายของเทอมนี้ และวันนี้อาจารย์ได้นัดให้มาสอบร้องเพลง โดยจับฉลากได้เพลงไหน ก็ให้ร้องเพลงนั้น 

กติกาในการสอบ
  • ดูเนื้อเพลงหัก 1 คะแนน
  • ให้เพื่อนทั้งห้องช่วยร้องหัก 1 คะแนน
  • เปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะแนน
  • ร้องได้โดยไม่ใช้ตัวช่วย ได้ 5 คะแนนเต็ม
        >>  โดยมีเพลงทั้งหมด 21 เพลง ดังนี้ <<





                                       .....ดิฉันจับได้เพลง  "นม"  การสอบครั้งนี้ ดิฉันได้ 5 คะแนนค่ะ.....

       ความรู้สึกที่มีต่อ วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
          
            ดิฉันดีใจที่ได้เรียนวิชานี้ กับอาจารย์เบียร์ค่ะ เพราะอาจารย์เป็นคนที่สอนแล้วเข้าใจง่าย ถึงแผนต่างๆ ที่อาจารย์สอนจะยากไปบ้าง แล้วอาจารย์มีวิธีการสอนที่ทำให้เพื่อนๆ ไม่งง อาจารย์เป็นคนที่แต่งตัวเรียบร้อยตลอดทั้งเทอม และพูดจาไพเราะตลอดเวลา ชอบอาจารย์ในคาบแบบนี้มากๆ ค่ะ ขอบคุณอาจารย์เบียร์มากๆ ที่สอนวิชานี้ให้กับดิฉันและเพื่อนๆ ค่ะ ...... รักอาจารย์เบียร์<3





ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

       ความรู้ที่ได้รับ

         โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
        แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยเหลือฟื้นฟุให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการตจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

       การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ  จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแปน IEP
       IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
       ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นพูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
       ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมือความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
       ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้ไมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล  เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สุงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1.  การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2.   การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
       -  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
    -  จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน  แม้จะกว้าง 
           >  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
           >  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่น
           >  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆ ได้
    
   -  จุดมุ่งหมายระยะสั้น 
           >  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
           >  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2 - 3 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์
           >  จะสอนใคร
           >  พฤติกรรมอะไร
           >  เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
           >  พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ตัวอย่าง

  • ใคร                              อรุณ
  • อะไร                            กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน          กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง  ในเวลา 30 นาที
ตัวอย่าง

  • ใคร                              ธนภรณ์
  • อะไร                            นั่งเงียบๆ โดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน          ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที  เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
     3.  การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์  ครุจะนำไปใช้โดยจะใช่แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึกถึง
             1.  ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
             2.  ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญญาของพัฒนาการเด็ก
             3.  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
     4.  การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน  และเกณฑ์วัดผล
      ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน



      
ตัวอย่างแผน IEP



การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำวิธีการเขียนแผน IEP ที่อาจารย์สอนไปฝึกเขียนและใช้ได้ในอนาคต
  • สามารถนำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลไปทำความเข้าใจและหาข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคต
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเขียนแผน IEP ช่วยเพื่อนคิดแผน 
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันเขียนแผนตั้งใจทำงานกันและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
  • อาจารย์  :  อาจารย์สอนการเขียนแผน IEP และให้ลองเขียนแผน ทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในแผนเป็นอย่างดีค่ะ



ครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 14 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)



* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดเทศกาลสงกรานต์ค่ะ...^_^


ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 6 เมษายน 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

        ความรู้ที่ได้รับ
               
             การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
                  ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
                   เป้าหมาย
                    -  การช่วยให้เด็กแต่บะคนเรียนรู้ได้
                    -  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
                    -  เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
                    -  พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น
                    -  อยากสำรวจ  อยากทดลอง  
                  
                    ช่วงความสนใจ
                    -  ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
                    -  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวาหนึ่งได้นานพอสมควร         

                    การเลียนแบบ
                    -  เลียนแบบครู
                    -  รุ่นพี่      

                    การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ
                    -  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
                    -  เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
                    -  คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
                       (อย่าสั่งอะไรหลายอย่าง)

                                                                 การรับรู้  การเคลื่อนไหว
                      
                                                            ได้ยิน  เห็น  สัมผัส  ลิ้มรส  กลิ่น
                                                     
                                                                               
                                                                ตอบสนองอย่างเหมาะสม

               

                                                             การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก                               
                 

                                                          -  การกรองน้ำ  ตวงน้ำ          
                                                          -  ต่อบล็อก
                                                          -  ศิลปะ
                                                          -  มุมบ้าน
                                                          -  ช่วยเหลือตนเอง

               ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
               -  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
               -  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
   



                ความจำ
                -  จากการสนทนา
                -  เมื่อเช้าหนูทานอะไร
                -  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
                -  จำตัวละครในนิทาน
                -  จำชื่อครู  เพื่อน
                -  เล่นเกมทายของที่หายไป

                ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
                -  จำแนก
                -  เปรียบเทียบ
                -  มิติสัมพันธ์
                -  การวัด
                -  การตวง

                การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
                -  จัดกลุ่มเด็ก
                -  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
                -  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
                -  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
                -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
                -  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
                -  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
                -  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
                -  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
                -  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
                -  พูดในทางที่ดี
                -  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
                -  ทำบทเรียนให้สนุก

เพลงเด็กปฐมวัย
                                                                                           ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
                                                                                          เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน
          
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิง 1 2 3 4 5
อีกฝูกบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ียวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ง 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยง  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ*)


การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำวิธีการส่งเสริมทักษะต่างๆ ไปใช้ในการฝึกสอนได้ในอนาคต
  • สามารถนำเนื้อเพลงที่อาจารย์สอน ไปใช้ร้องเพลงเก็บเด็ก หรือร้องในเวลาทำกิจกรรม
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจที่อาจารย์สอน จดความรู้ที่อาจารย์เพิ่มเติมให้
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย สนใจที่อาจารย์สอน ตั้งใจเรียนทุกคน
  • อาจารย์  :  อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อย  พูดจาไพเราะมากๆ ค่ะ สอนเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 





                                    

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 31 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

               
             **วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะวันพรุ่งนี้ จะมีกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ ดังนั้น     อาจารย์เลยให้ช่วยกันทำอุปกรณ์การเชียร์กีฬาสี ต่างๆ ค่ะ







นี่คือสแตน เอกการศึกษาปฐมวัย ^^



 ประเมิน
  • ตนเอง : ช่วยเพื่อนๆ ทำอุปกรณ์การเชียร์กีฬา และช่วยเพื่อนๆ ทำสแตนของปฐมวัย
  • เพื่อน  :  เพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสแตนขึ้นมาทำให้สแตนออกมาน่ารักเหมาะกับเอกปฐมวัยเป็นอย่างมากค่ะ
  • อาจารย์  :  อาจารย์ค่อยช่วยและให้คำปรึกษา ในเวลาที่พวกเรากำลังช่วยกันทำสแตนอยู่และอาจารย์ยังเลี้บง Pizza อีก อาจารย์น่ารักมากๆ เลยค่ะ

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 24 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)


**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่มีการสอบเก็บคะแนนค่ะ >_<



ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

 ความรู้ที่ได้รับ
            
        การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ  (ทักษะการช่วยเหลือตนเอง)
                            
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    การสร้างความอิสระ
  • เก็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
    ความสำคัญเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
   การย่อยงาน  (การเข้าส้วม)
  • เข้าไปในห้องน้ำ
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาศำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม      
    สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่วามสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
              จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานคนละ 1 ชิ้น โดยการให้ระบายสีโดยสมมติว่า กระดาษวงกลมเป็นหัวใจตนเอง แล้วใช้สีเทียนระบายลงไป ผลงานชิ้นนี้จะสื่อถึงความรู้สึกของตนเองได้ด้วยค่ะ


          ภาพนี้จะเป็นกระดาษร้อยปอร์นแข็งขนาดเท่ากระดาษ A4 แล้วเริ่มใช้สีเทียนสีอะไรก็ได้ จุดลงตรงกลางตามภาพ


          ลงสีเสร็จแล้ว ให้ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่ลงสีไว้ และนี่คือหัวใจของดิฉัน ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับดวงใจนี้ว่า "จริงๆ แล้วในใจลึกๆ เป็นคนที่สดใส ร่าเริงและเป็นคนที่เรียบง่าย แต่ภายนอกดูอาจจะขุ่นมัว มีเรื่องที่ไม่ค่อยสบายใจสักเท่าไหร่"  ดิฉันคิดว่าวงกลมนี้ตรงกับตัวของดิฉันมากๆ เลยค่ะ อารมณ์ของดิฉัน ตามสีที่ดิฉันเลือกมาวงค่ะ


          เมื่อทุกคนทำหัวใจของตนเองเสร็จหมดแล้ว อาจารย์เบียร์ได้นำต้นไม้ขนาดใหญ่มาติดไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง แล้วให้ทุกคนนำหัวใจของตนเองมาติดไว้ตามต้นไม้ต้นนี้ค่ะ


          และภาพที่เห็นนี้คือ หัวใจของพวกเราทุกคนที่นำมารวมกัน เกิดสีสันมาปรากฏบนต้นไม้ต้นนี้ได้สวยงามมากๆ ค่ะ^^

การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถผลงานที่ทำไปปรับใช้ ได้ในการฝึกสอนในอนาคต
  • สามารถนำเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปใช้ในการฝึกสอน
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง จดบันทึกที่อาจารย์เพิ่มเติมให้
  • เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม มีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ และช่วยเหลือกันและกัน
  • อาจารย์  :  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมได้ดีมากๆ ค่ะ เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงๆ ทำให้มีพื้นฐานและมีเกมไปสอนเด็กๆ ได้ในอนาคตค่ะ


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 10 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

   ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้ก่อนเข้าเรียนในเนื้อหา อาจารย์ได้แนะนำและบอกเล่าประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการสอบเข้าบรรจุราชการ และการสอบสัมภาษณ์ การทำงานในเขตพื้นที่ต่างๆ ทำให้รู้แนวและวิธีการเตรียมตัวด้วยค่ะ
จากนั้น อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ก่อนเข้าเนื้อหาการเรียน อาจารย์ได้เปิด VDO  ของโรงเรียนพลอยภูมิ ให้ดูค่ะ และเนื้อหาที่อาจารย์สอนนั้น เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ ทักษะภาษา  
VDO อนุบาลพลอยภูมิ


สรุป การดูVDO

           การใช้ดนตรีและจังหวะอย่างมีจุดหมาย ที่พัฒนาเด็กพิเศษให้มีจังหวะกาย และจังหวะชีวิตให้สมบูรณ์ยิ้งขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใด อีกทั้งการใช้จังหวะดนตรีเข้ามาจะทำให้เด็ก ได้ฝึกความสมดุลทางร่ายกาย การเดิน การวิ่งการด้าวเท้าไปตามจังหวะเพลง รร. อนุบาลบ้านพลอยภูมิ มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในชั้นเรียน คุณครูทั้งสองท่านได้เข้าอบรมในโครงการบูรณาการดนตรีสู่ห้องเรียนการใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย และเด็กพิเศษ ของคุณครูฐานัด ชูประกาย การฟัง สมาธิการจดจ่อ ความคล่องตัว ยืดหยุ่น แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ สหสัมพันธ์ซ้ายเล่นเป็นกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง และเชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะฟื้นฟูพัฒนาได้ตลอดชีวิต
          

  1. ทักษะภาษา

       การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมือ่มีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆ ไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
       การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด 
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
      การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซื้อหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
      ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายดดยไมใช้คำพูด
       ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
              เสร็จจากการสอนในเนื้อหาอาจารย์ให้ทำกิจกรรม คือการลากเส้นตรง ตามเพลง



รวมภาพกิจกรรม



การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถความรู้ที่อาจารย์บอกการสอบเข้างานราชการไปเตรียมความพร้อมในการสอบบรรจุ
  • สามารถนำทักษะทางภาษาไปปรับใช้ และประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่อาจารย์บอก และจดบันทึกที่อาจารย์เพิ่มเติม
  • เพื่อน  :  วันนี้มีเพื่อนกลุ่มอื่นมาเรียนร่วมด้วย และเพื่อนๆ ทุกคนตั้งใจเรียน และสนใจที่อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • อาจารย์  :  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาได้ดีมากๆ ค่ะ และอีกทั้งยังาแนะนำการสอบบรรจุราชการอีกด้วยค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 3 มีนาคม 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

  ความรู้ที่ได้รับ
        
       วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาในการเรียน อาจารย์เบียร์ให้เล่นเกมเล็กๆ น้อยๆ เพื่อความสนุกสนานจากนั้นอาจารย์เบียร์สอนเนื้อหา เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ

   1. ทักษะสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสัมคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนในกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีกล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆ คน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน 'ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด้กหันมาหาครู
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย การพูดนำของครู

        
              เสร็จจากการสอนเนื้อหา อาจายร์ให้ทำงานกลุ่ม โดยแจกกระดาษบรู๊บกลุ่มละ 1 แผ่น จากนั้นให้หยิบสีเทียนที่ตนชอบ คนละ 1 แท่ง จากนั้นให้อาจายร์จะให้ 1 คนวาดเป็นเส้นโดยลากเป็นเส้นไปเรื่อยๆ ตามเพลงที่อาจายร์เปิดให้ ส่วนอีก 1 คน ให้จุดไปตรงที่เพื่อนลากเส้นแล้วมีวงกลม ตรงไหนมีวงกลมให้จุดตรงนั้นตามเพลงที่ฟัง พอเพลงจบให้ทุกคนยกมือขึ้นแล้วให้วาดภาพว่าเราเห็นเป็นภาพอะไรในเส้นที่ลากไป จากนั้นระบายสีตามภาพที่เห็น

ภาพผลงาน

ภาพที่ได้ คือภาพรวมสัตว์ มี สัตว์ประหลาด งู ลิง นก เป็น ค่ะ

ภาพ งานรวม


         จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆ ทุกกลุ่มนำภาพของตนเองมาวางเรียงต่อกันแล้วอธิบายว่า ภาพที่วาดมานั้น มีตัวอะไรบ้าง

       ท้ายคาบอาจารย์ให้ร้องเพลงตามที่อาจายร์แจกให้ มีทั้งหมด 6 เพลง ดังนี้

เพลงเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน


เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่บนท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก้บเอามาร้อยเป็นมะลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสนสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน


เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู 


เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย


การนำความรู้ไปใช้
  • นำเทคนิคการสอนภายในห้องเรียน ไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ ได้
  • สามารถนำวิธีการลากเส้น ตามเสียงเพลงไปบำบัดเด็กได้
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหลาย และจดบันทึกเพิ่มเติมที่อาจารย์บอก
  • เพื่อน  :  เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์สอน และจดบันทึกเพิ่มเติมทุกครั้ง
  • อาจารย์  :  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาได้ดีมากๆ ค่ะ ทำให้ผ่อนคลายก่อนเรียนและมีรอยยิ้มกันทุกคน ชอบมากๆ ค่ะ


ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)


            
      ** สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์แห่งการสอบกลางภาค 
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)

       ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ให้อ่านหนังสือสอบ แต่ในชั่วโมงเรียน มีการเซอร์ไพร์อาจารย์เบียร์เล็กๆ น้อยๆ ย้อนหลังวันเกิดค่ะ ^^


          Happy Birth Day ย้อนหลังนะค่ะ อาจารย์เบียร์ ขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆ สุขภาพร่างกายแข็งแรง คิดสิ่งใดสมความปราถนา และเป็นแบบอย่างที่ดีแบบนี้ของพวกหนูตลอดไป นะค่ะ^^



รวมภาพบรรยากาศในห้องเรียนค่ะ อบอุ่นมากๆ ค่ะ



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น. (กลุ่ม 105)


     ความรู้ที่ได้รับ
               วันนี้ก่อนเรียนในเนื้อหาอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ คืออาจารย์แจกถุงมือให้เพื่อนๆ ทุกคน แล้วให้สวมถุงมือในข้างที่ตัวเองไม่ถนัด จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษมาคนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดภาพมือข้างที่ใส่ถุงมือให้เหมือนจริง บางคนจำรายละเอียดได้ บางคนจำรายละเอียดไม่ได้ ต่างๆ กันไปค่ะ

ภาพ "มือของดิฉัน"


            เสร็จจากกิจกรรมวาดภาพแล้ว อาจารย์สอนในเนื้อหาเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติโดยมีเนื้อหาดังนี้
  • ทักษะของครูและทัศนคติ
           -   ครูควรมองเด็กๆ ทุกคนให้เท่าเทียมกัน
  • การฝึกเพิ่มเติม
           -   ครูควรอบรมระยะสั้น ,สัมมนา
  • การเข้าใจภาวะปกติ
          -   มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
  • การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
          -   การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
  • การสอนโดยบังเอิญ
          -   ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
          -   เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ตารางประจำวัน
          -   เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • ทัศนคติของครู
          -   มีความยืดหยุ่น
          -   การใช้สหวิทยาการ
  • เทคนิคการให้แรงเสริม
          -   ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
          -   มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
          -   หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
  • การลดหรือหยุดแรงเสริม
          -   ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
          -   ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
          -   เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
          -   เอาเด็กออกจากการเล่น
     
         ** เสร็จจากการสอนในเนื้อหาแล้ว อาจารย์เบียร์ให้เพื่อนๆ ทุกคนนำเพลงออกมาร้องทั้งหมด 5 เพลง ที่เคยให้ไปฝึกมาเมื่อคาบที่แล้ว

เพลง ฝึกกายบริหาร
                                            ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน
ฝึกการบริหารทุกวันร่างการแข็งแรง
ฝึกการบริหารทุกวันร่างการแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟังทอง กะหล่าปลี

เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

การนำความรู้ไปใช้
  • สามารถนำเทคนิคบทบาทของครูมาใช้ในการเรียนและการฝึกสอนได้เป็นอย่างดี
  • สามารถนำทักษะและทัศนคติของครูมาปรับใช้กับตัวเอง
 ประเมิน
  • ตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกเพิ่มเติมที่อาจารย์บอก ทำกิจกรรมวาดภาพได้เป็นอย่างดี
  • เพื่อน  :  เพื่อนๆ ชอบทำกิจกรรมวาดภาพมือตัวเองเป็นอย่างมาก และดูเพื่อนภูมิใจในผลงานของตนเอง เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดีและจดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญเพิ่มเติม
  • อาจารย์  :  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่เนื้อหาได้ดีมากๆ ค่ะ ทำให้ได้ใช้สมองแบบจินตนาการหรืออิสระในการวาดภาพทำให้ไม่คิดอะไรมาก และยังทำให้เปิดรับสิ่งที่อาจารย์สอนในคาบเรียนด้วยค่ะ